โดยทั่วไปแล้ว สแตนเลสเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายด้วยเหตุผลหลักๆ 2 ประการ หนึ่ง คือ ความสามารถในการทนทานการกัดกร่อนในหลายสภาวะ และ สอง คือ ความสวยงามของผิวที่เงาวาว ดูหรูหรามีราคา แต่มีหลายกรณีที่ผู้ใช้ต้องการเพียงหนึ่งในสองคุณสมบัติดังกล่าว คือ ต้องการคุณสมบัติด้านการทนทานการกัดกร่อนแต่ไม่ได้ต้องการผิวที่เงาวาวของสแตนเลส เช่น ต้องการสีชิ้นงานที่เป็นสีเดียวกับโลโก้ขององค์กร , ต้องการสีชิ้นงานที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม, ต้องการสีด้านๆเพื่อไม่ให้เกิดแสงสะท้อนในการใช้งาน เหตุผลหนึ่งที่ผมเคยได้ยินจากผู้ใช้จริง คือ ต้องการนำไปใช้ในสภาวะกัดกร่อนสูง แต่กลัวถูกขโมย เลยอยากทาสีให้คนอื่นนึกว่าเป็นเหล็ก ในกรณีนี้เรียกว่าไม่ต้องการความสวยงามจากสเตนแลสเลยจริงๆ(ฮะ ๆ) อย่างไรก็ตาม อันที่จริงแล้วด้วยลักษณะผิวสแตนเลสที่เรียบลื่น ทำให้สแตนเลสไม่เหมาะที่จะนำมาทาหรือพ่นสี เพราะสีจะร่อนหลุดได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้คุณสมบัติด้านการต้านทานการกัดกร่อนลดลง เนื่องจากกุญแจสำคัญในการป้องกันการเกิดสนิมคือ การที่ผิวสแตนเลสสามารถสร้างชั้นฟิล์มบางๆขึ้นมาเคลือบผิวกันสนิม ซึ่งกระบวนการสร้างนี้จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมาทำปฏิกิริยากับโครเมียมในเนื้อสแตนเลส เกิดเป็นโครเมียมออกไซด์ การพ่นหรือทาสีจะทำให้ผิวสแตนเลสขาดออกซิเจนไปทำปฏิกิริยา ส่งผลให้ไม่สามารถสร้างฟิล์มโครเมียมออกไซด์ขึ้นมาได้ และทำให้มีโอกาสเกิดสนิมมากขึ้น อย่างไรก็ดี บางครั้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องทำสีด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งแม้จะมีความยุ่งยากอยู่บ้างแต่หากทำอย่างถูกวิธีก็จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ครับ การทำสีสแตนเลสนั้นต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษเพื่อให้แน่ใจเรื่องความคงทนในสภาวะที่จะนำไปใช้งาน องค์ประกอบหลักในกระบวนการทำสี คือ การเตรียมผิวก่อนทำสี และ ส่วนผสมของสีที่นำมาใช้เคลือบผิว ผิวสเตนแลสนั้นโดยทั่วไปจะเรียบลื่นกว่าผิวของเหล็กคาร์บอนอยู่แล้ว โดยเฉพาะในแผ่นบางรีดเย็น ซึ่งมีผลมากต่อการยึดเกาะของสี เพื่อให้การยึดเกาะดีขึ้น เราจึงต้องทำให้ผิวสแตนเลสหยาบขึ้นก่อนเคลือบสี การเตรียมผิวนั้นหลักๆมีอยู่ 3 […]